เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 20 มิถุนายน 2560 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 8981 คน
เเป็นเวลากว่า 10 ปีที่ นักศึกษา มทร.ล้านนา ได้มีโอกาสแสดงความสามารถในเวทีการประกวดบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย และผลงานของนักศึกษา มทร.ล้านนา ก็มักจะติดโผรางวัลลำดับต้นๆ ของเวทีนี้อยู่เสมอ การจัดการประกวดในปี 2560 นี้ก็เช่นกัน ส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ กองพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2560 (ThaiStar Packaging Awards 2017) ภายใต้หัวข้อ “บรรจุภัณฑ์ 4.0 เทคโนโลยี นวัตกรรม นำไทย” (Thai Packaging 4.0) กลุ่มนักเรียน – นักศึกษา แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย สำหรับสินค้าทั่วไปและต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง สำหรับสินค้าทั่วไป โดยมีผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 488 ผลงาน และประกาศผลการตัดสินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา
หลักสูตรเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด
และสามารถคว้ารางวัลในการประกวดครั้งนี้ 5 รางวัล นับเป็นปีที่ 10 ติดต่อกันที่สามารถรักษามาตรฐานการสร้างสรรค์ผลงานให้สามารถตอบโจทย์ในแนวคิด ที่เปลี่ยนแปลง
นางสาวศิริวรรณ
เลาต๋า รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ประเภท
ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย สำหรับสินค้าทั่วไป เจ้าของผลงาน
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอชาวเขา ตราสินค้า “ม้งฮิมดอย” “Hmong Him Doi”
เป็นการนำเอาอัตลักษณ์ชนเผ่าม้ง จ.แม่ฮ่องสอน ของเจ้าของผลงานเอง มาผสมผสานเข้ากับแนวคิดสมัยใหม่
เพื่อให้ตอบโจทย์ชีวิตในยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นการออกแบบถุง Shopping
Bag พร้อมบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ Folding Carton สำหรับใส่หมวกผ้าทอชาวเขาเผ่าม้ง เป็นการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าของชาวเขาทางเหนือและเพิ่มมูลค่ายกระดับสินค้าไทย
ให้เป็นสินค้าที่ยอมรับในตลาดสากล สร้างความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการเพิ่ม Fucntion
ให้กับถุงขณะที่หิ้ว หญิงสาวชาวเขาในกราฟิกจะทำหน้ายิ้มแย้ม
แต่หากถุงวางอยู่กับที่จะทำสีหน้าอารมณ์บึ้ง ส่วนกล่องกระดาษ Folding
Carton ที่บรรจุหมวก ฝากล่องสามารถ Display เพื่อนำหมวกมาสวม
เป็นอีกฟังก์ชั่นที่ให้เกิดความสนุกสนาน
นายณัฐพงศ์ ไชยวงศ์ นายธีรภัทร คำจ้อย และนายเกียรติศักดิ์ จินามา รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
สำหรับสินค้าทั่วไป ผลงานชุดบูชาพระพิฆเนศ ตราสินค้า “อัญเชิญ” “Anchern”
โดยการออกแบบ พระพิฆเนศ (Ganessha: Lord of
Success) เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ
จะเห็นได้ว่าอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน จากการพบรูปสลักพระพิฆเนศในเทวสถานต่างๆ
อิทธิพลจากความเชื่อส่งผลให้มีงานฝีมืออย่างตุ๊กตาดินเผาองค์พระพิฆเนศปางเด็กจำหน่ายแยกเป็นชิ้นอย่างหลากหลาย
สร้างความน่าสนใจอีกทั้งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปี่ยมไปด้วยความศรัทธา
โดยนำมารวมเป็นชุดองค์พระพิฆเนศปางอ่านหนังสือบูชาคู่กับหนู
เชื่อว่าการกระซิบขอพรผ่านหูของหนูเพื่อส่งต่อองค์พระพิฆเนศ พร้อมมีธูปและคาถาบูชา
เน้นการออกแบบที่สะดวกต่อการใช้งาน สามารถ Display เป็นหิ้งพร้อมบูชาภายใต้การสร้างแบรนด์
“อัญเชิญ (Anchern)” ที่แฝงไปด้วยกลิ่นอายอารยธรรมอินเดียผสานความหมายและความศรัทธาได้อย่างลงตัว
ทั้งนี้ยังสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ
3 ในประเภทเดียวกันทั่วไปในผลงาน
ไม้เท้าพับได้ ตราสินค้า “ Walk ”
โดยเป็นการออกแบบที่ใส่ใจต่อสังคมปัจจุบันของประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่การเป็น
“สังคมผู้สูงอายุ”และโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ คือ โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อม
อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในการช่วยพยุงในการเดิน คือ ไม้เท้า
จึงได้แรงบันดาลใจในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสามารถซื้อเป็นของขวัญฝากญาติผู้ใหญ่ได้ในทุกโอกาสพิเศษ
หรือสำหรับนำไปทำบุญ-บริจาค ภายใต้การออกแบบตราสินค้า “ Walk
” โดยใช้เทคนิคผสานระหว่างรูปภาพและตัวอักษร
จะเห็นได้ว่าลักษณะตัวอักษร W ที่ได้จากการ Display กล่องขณะตั้งโชว์ มาช่วยสร้างจุดเด่นและความน่าสนใจในงานได้อย่างลงตัว ซึ่งข้อดีของการออกแบบโครงสร้างที่เป็นวัสดุกันกระแทกนั้นจะเป็นการช่วยล๊อคสินค้าให้อยู่ในลักษณะการพับเก็บและสามารถ
Display ได้ ณ จุดจำหน่าย เหมาะสำหรับซื้อเป็นของขวัญของฝาก
ในขณะเดียวกันโครงสร้างมีความแข็งแรงปกป้องผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดการเสียหายขณะขนส่ง
สร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์และตราสินค้า ด้วยการใช้เทคนิคพับเก็บเป็นรูปทรงของอักษร
W ซึ่งเป็นที่มาสามารถบอกเล่าเรื่องราวสู่ตราสินค้าได้อีกด้วย
นางสาวอริสา ทาศักดิ์
รางวัลชมเชย ประเภทต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง สำหรับสินค้าทั่วไป
ผลงานชุดอุปกรณ์ปลูกผักออแกนิก ตราสินค้า “ฮอบบิท เฮ้าส์”
“Hobbit House” เกิดแรงบันดาลใจจากการนำแนวคิดของความนิยมรักสุขภาพของคนในปัจจุบันที่มีการปลูกผักไว้ทานเอง
มาออกแบบชุด บรรจุภัณฑ์รวมชุดอุปกรณ์ปลูกผักพร้อมเมล็ดพันธุ์
จึงตอบโจทย์คนเมืองที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่อยู่อาศัยคับแคบ
บรรจุภัณฑ์ชั้นในจึงได้ออกแบบให้ลดพื้นที่ในการจัดเก็บและจัดวางอุปกรณ์ให้ดูเหมือนเก็บไว้ในบ้าน
กราฟิกภายนอกเน้นการใช้ภาพลายเส้นสร้างความเข้าใจผลิตภัณฑ์และการใช้งาน อีกทั้งเพื่อให้เกิดความสุนกสนานทำให้สินค้าดูโดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้บริโภค
นางาสาวบัวคำ นามยี่
รางวัลชมเชย ประเภทต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง สำหรับสินค้าทั่วไป กับผลงานชุดอุปกรณ์ห้องน้ำเรซิน
ตราสินค้า "Brick Box"
ซึ่งชุดอุปกรณ์ห้องน้ำเรซิน (Resin
Bathroom Set) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มี
รูปแบบดีไซน์อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทันสมัย เหมาะกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ชื่นชอบการตกแต่งห้องน้ำ
จึงเกิดแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ
แสดงสินค้า ณ จุดขาย สามารถตั้งโชว์สินค้าโดยจำลองบรรยากาศในห้องน้ำ เมื่อผู้บริโภคซื้อแล้วสะดวกต่อการจัดเก็บ
บรรจุลงกล่อง อีกทั้งสะดวกต่อการขนส่ง การออกแบบโครงสร้างภายนอกและวัสดุกันกระแทกได้คำนึงถึงการใช้กระดาษแผ่นเดียว
และบล็อกมีดไดคัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงออกแบบให้มีลักษณะรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมพับขึ้นรูปจากกระดาษเพียงชิ้นเดียว เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการผลิต สร้างความโดดเด่นให้ผลิตภัณฑ์ผ่านกราฟิก
จำลองบรรยากาศห้องน้ำตกแต่งด้วยลาย อิฐบล็อคที่เรียบง่ายผสานความทันสมัย
ภายใต้แบรนด์ "Brick Box"
กระตุ้นความรู้สึกอยากใช้งาน
ตอบโจทย์ในเรื่องความงามและประโยชน์ใช้สอยได้อย่างลงตัว
อาจารย์ศศิธร
ทองเปรมจิตต์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เปิดเผยว่า “ทีมงานคณาจารย์ในหลักสูตร
แต่ละท่านล้วนแต่เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในวงการบรรจุภัณฑ์มากว่า 10 ปี ซึ่งในการประกวดแต่ละครั้ง
ก็จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนที่สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวด ซึ่งที่ผ่านมา
อาจารย์ผู้สอนจะเป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำ
การทำงานของสาขาจึงเปรียบเสมือนครอบครัวที่จะเป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดแนวคิดและมองหาผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
มีอัตลักษณ์ และบริบทของที่มาผลิตภัณฑ์ชัดเจนเพื่อนำเสนอจุดเด่นและสร้างอัตลักษณ์หรือจุดขายของสินค้าออกมาโดยให้เชื่อมโยงกับโจทย์การประกวด
ในการประกวดเวทีนี้ มีโจทย์ที่สำคัญคือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีการสร้างนวัตกรรม
เทคโนโลยีเชื่อมโยงกับยุคไทยแลนด์ 4.0
เราจึงพยายามมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ออกแบบผลงานสร้างสรรค์ โดยใช้นวัตกรรมเข้ามาตั้งแต่ส่วนของการออกแบบโครงสร้าง
(Structural) เน้นนวัตกรรมการออกแบบเป็นสำคัญ รวมถึงการออกแบบกราฟิกเพื่อเชื่อมโยงจากการสร้างแบรนด์ของสินค้า
ดึงอัตลักษณ์สินค้าออกมาให้เด่น นำเสนอต่อกลุ่มผู้บริโภค
จึงเป็นการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการสร้างจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์เข้ากับนวัตกรรมสมัยใหม่”
เวทีการประกวดอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความสามารถของนักศึกษาที่ได้หลอมรวมเอาความรู้
ประสบการณ์ที่ได้เรียนมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานแต่นอกเหนือจากการประกวดสิ่งหนึ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้ก็คือการทำงานแบบมีส่วนร่วม
การถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องสิ่งเหล่านั้นคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ตลอดระยะเวลากว่า
10 ปี ของหลักสูตรเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สามารสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ
มีผลงานอันโดดเด่น คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ความท้าทายของโจทย์แต่ละปีก็ได้สร้างนักออกแบบหน้าใหม่ออกสู่วงการ
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมวงการนักออกแบบ
Packaging ของประเทศไทยจึงมีผลงานของนักศึกษา
มทร.ล้านนา อยู่ในระดับแถวหน้าของประเทศ เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) ที่มีคุณภาพในวงการบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย
คลังรูปภาพ : บรรจุภัณฑ์ 2560
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา